อีสานลำเพลิน
สไลด์โชว์
วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553
กิจกรรมภานในงาน - ภายในงานพบอาหารไทย 4 ภาคและอาหารนานาชาติ ที่คุณ “อยากจะชิม ควรชิม และต้องชิม” กับอาหารประเภทต่างๆ หลากหลาย แต่คล้ายคลึงในแต่ละวัฒนธรรมนำเสนอใน Zone อาหาร 6 กลุ่ม - อาหารจานขนม (น้ำตาล) - อาหารจานผัก/เนื้อ - อาหารจานเส้น - อาหารจานห่อ - อาหารจานข้าว - อาหารจาน Herb - การแข่งขันปรุงอาหารจาก 4 เชฟหล่อ ปะทะ 4 ดารา - ทุกวัน พบคนดังกับเส้นทางเมนูที่เป็น Signature Dish ของเขาและเธอ ซึ่งสะท้อนตัวตนในแต่ ละสไตล์ อาทิ Food of life :อาหารต่างชาติ วัฒนธรรม กับวิถีชีวิตไทย-เทศ food stylist ที่ไปดังไกลถึงต่างชาติ
Food of love : รับรู้ รับฟัง แบ่งปันประสบการณ์เรื่องราวเส้นทางรัก นักกินของแขกรับเชิญ ข้อมูลเพิ่มเติม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ไหลเรือไฟ 2553 จังหวัดนครพนม
ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติใน เทศกาลออกพรรษา ทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ตามแม่น้ำลำคลอง จังหวัดที่มีการไหลเรือไฟปัจจุบันคือ จังหวัดศรีสะเกษ สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย และอุบลราชธานี โดยเฉพาะชาวนครพนมนั้นถือเป็นประเพณีสำคัญมาก เมื่อใกล้จะออกพรรษาชาวบ้านจะแบ่งกันเป็น "คุ้ม" โดยยึดถือเอกชื่อวัดใกล้บ้านเป็นหลักในการตั้งชื่อคุ้ม เช่น ถ้าอยุ่ใกล้วัดกลางก็จะเรียกกันว่า "ชาวคุ้มวัดกลาง" ชาวคุ้มวัดต่าง ๆ ก็จะจัดให้มีการแข่งเรือ ส่วงเฮือ แห่ปราสาทผึ้ง และการไหลเรือไฟเรือไฟ หรือภาษาถิ่นเรียกกันว่า "เฮือไฟ" นี้เป็นเรือที่ทำด้วยต้นกล้วยท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5 - 6 วา ข้างในบรรจุขนม ข้าวต้มผัดหรือสิ่งของที่ต้องการบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสวก่อนจะปล่อยเรือไฟ ซึ่งเรียกว่า การไหลเรือไฟ หรือ ปล่อยเฮือไฟมูลเหตุของการไหลเรือไฟนั้นมีคตินิยมเช่นเดียวกับการลอยกระทง แต่เป็นการลอยกระทงก่อนที่อื่น 1 เดือน โดยมีความเชื่อกันหลายประเด็นคือ- ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที- ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระรัตนตรัย- ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาคุณพระแม่คงคา- ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพญานาคชาวนครพนมได้ผสมผสานความเชื่อถือในการไหลเรือไฟไว้ด้วยสาเหตุหลายอย่าง และเนื่องจากลักษณะทำเลภูมิประเทศแม่น้ำโขงหน้าเมืองนครพนมนั้นสวยงามมาก โดยเฉพาะในวันเพ็ญ เดือน 11 ท้องฟ้าแจ่มใสอากาศเย็นสบาย ชาวนครพนมจึงได้ร่วมใจกันฟื้นฟูประเพณีไหลเรือไฟให้เป็นประเพณีสำคัญของ จังหวัดเมื่อ พ.ศ. 2523 มีงานรวม 4 วัน ตั้งแต่วันขึ้น 12 -15 ค่ำ แต่วันที่สำคัญที่สุดคือ วันสุดท้าย ซึ่งเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 มีการไหลเรือไฟลงสู่แม่น้ำโขงอย่างมโหฬาร
งานเทศกาลเที่ยวหอยหิน กินลำใย ไหว้หลวงปู่ขาว ประจำปี 2553
จังหวัดหนองบัวลำภู? ถูกขนานนามว่าเป็นดินธรรมที่สงบสุขในอ้อมกอดของเทือกเขาภูพาน? เต็มไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์อันสวยงาม? รวมถึงมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย? ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมพาร? ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว? และเงาบุญของ? ?หลวงปู่ขาว? อนาลโย?? พระอริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติชอบ? แห่งวัดถ้ำกลองเพล? เป็นพระสงฆ์ที่ชาวเมืองหนองบัวลุ่มภูให้ความเคารพทุกหย่อมหญ้า? ซึ่งปัจจุบันได้มีการสร้างหุ่นขี้ผึ้งจำลองของหลวงปู่ฯ ท่าน? ขนาดเท่าจริง? ประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ขาว? วัดถ้ำกลองเพลบนยอดเขาสูง? ซึ่งอยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี? ต.โนนทัน? อ.เมือง? จ.หนองบัวลำภู? ที่จะใช้เป็นสถานที่จัดงาน? ?เที่ยวหอยหิน ?กินลำไย ?ไหว้หลวงปู่ขาว?? ระหว่างวันที่ 6-8? สิงหาคม 2553? ตลอดทั้งวัน ??เทศกาลเที่ยวหอยหิน กินลำไย ไหว้หลวงปู่ขาว? ??จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไยในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูให้สามารถจำหน่ายลำไยได้หมด? ซึ่งผู้มาเที่ยวงานสามารถเลือกซื้อลำไยได้ในราคาที่เหมาะสม ?และเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดหฯ ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น? จึงขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมอุดหนุนลำไย? กราบไหว้หลวงปู่? ขึ้นภูไปดูไดโนเสาร์เคลื่อนไหวได้? ตัวแรกของประเทศ? สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโนนทัน? โทร. 0-4200-0048? ต่อ? 11? ในวันและเวลาราชการ
วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ที่เที่ยวสวยๆๆ
สุดยอดสายน้ำฉ่ำเย็น แม่น้ำโขง ชี มูน
แม่น้ำโขง คือสุดยอดแม่น้ำของอีสาน ข้อนี้คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในภาคเหนือที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นระยะทางสั้นๆ ก่อนจะออกจากประเทสไทยที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเดียวกัน จากนั้นแม่น้ำโขงจึงไหลกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งในแผ่นดินอีสาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จากเชียงคาน แม่น้ำโขงก่อให้เกิดหาดทราบ โขดหิน และเกาะแก่งที่สวยงามมากมายหลากหลาย โดยเฉพาะที่อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย มีที่พักและรีสอร์ตมากหลายได้รับการจัดสร้างขึ้นไว้รองรับนักท่องเที่ยวผู้มาชมความสวยงามของแม่น้ำโขงที่นี่
สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 เป็นสะพานนานาชาติแห่งแรกที่พาดข้ามไปบนแม่น้ำสายนี้ เชื่อมมิตรภาพสองฝั่งโขง ร้อยใจลาว-ไทยน้องพี่เข้าด้วยกัน จากสะพานมิตรภาพๆ แม่น้ำโขงก็ขยายตัวกว้างใหญ่ ทอดผ่านเมืองสองฟากฝั่งที่ล้วนเป็นเมืองสำคัญของสองประเทส เช่น เมืองบึงกาฬ เมืองบอลิคัน เมืองนครพนม และเมืองท่าแขก จนมาพบกับสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นแม่น้ำโขงก็ไหลต่อลงไปผ่านเมืองเขมราฐ ก่อให้เกิดแก่งหินที่สวยงามขึ้นอีกหลายชุดก่อนจะไปสุดท้ายออกจากประเทสไทยที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สุดยอดขุนเขาแห่งการท่องเที่ยว...ภูกระดึง
วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553
มหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง
ลำน้ำโขง คนไทยทางภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขงและคนลาวแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความเชื่อกันมานานแล้วว่า แม่น้ำโขง เกิดจากการเดินทางของนาคตนหนึ่งชื่อว่า ปู่เจ้าศรีสุทโธ นาคตนนี้เมื่อเลื้อยไปเจอภูผาหรือก้อนหินก็เลี้ยวหลบ ผิดกับนาคตนอื่นๆ ที่จะเลื้อยผ่าตรงไปเลย เส้นทางการเดินของเจ้าศรีสุทโธจึงมีลักษณะคดเคี้ยวไปมา เรียกกันว่า ลำน้ำคดหรือลำน้ำโค้ง แล้วต่อมาเพี้ยนเป็น ลำน้ำโขง
เมื่อครั้งพระพุทธองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมและจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดาและเหล่าเทวดา กระทั่งครบกำหนดวันออกพรรษา พญานาคี นาคเทวี พร้อมทั้งเหล่าบริวารจัดทำเครื่องบูชาและพ่นบั้งไฟถวาย ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
บั้งไฟพญานาค เป็นปรากฎการณ์ของการเกิดลูกไฟสีชมพูพวยพุ่งขึ้นจากกลางลำน้ำโขงสู่อากาศ โดยลูกไฟนั้นไม่มีควัน ไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียง พุ่งสูงประมาณ 20-30 เมตร แล้วหายไปโดยไม่มีการโค้งลงมา เช่น บั้งไฟทั่วไป ขนาดของลูกไฟมีตั้งแต่ขนาดเท่าหัวแม่มือ กระทั่งขนาดเท่าฟองไข่ไก่ เกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่แน่นอน ตั้งแต่ 6 โมงเย็นจนถึง 2-3 ทุ่ม สถานที่เกิดมักเป็นลำน้ำโขง ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอปากคาด อำเภอสังคม อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย และบริเวณอื่นๆ
วันเวลาที่เกิด ?บั้งไฟพญานาค? จะเป็นปรากฏการณ์ที่แน่นอน คือตรงกับ วันออกพรรษา วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับวันออกพรรษาของลาว
อัศจรรย์ใจ ไหว้พระธาตุพนม
ในสมัยโบราณ บรรดาชาวพุทธในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและในประเทศลาว เชื่อถือสืบ ๆ กันมาว่า ถ้าใครมีโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์ ถวายเครื่องสักการะบูชาหน้าองค์พระธาตุพนม จิตใจจะสงบเยือกเย็นอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ถ้ายังไม่บรรลุนิพพานในชาตินี้ เมื่อตายแล้ววิญญาณก็จะได้ไปสู่สวรรค์ ชาวพุทธในถิ่นนี้ถือกันว่าองค์พระธาตุพนมไม่เพียงแต่จะเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จมาประทับแรมอยู่หนึ่งราตรี ประเพณีนมัสการพระธาตุพนม เป็นประเพณีประจำปีสมโภชองค์พระธาตุพนมปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของประชาชนไทย-ลาวสองฟากฝั่งโขง ในวันงานประชาชนจากทั่วทุกสารทิศของไทยและชาวลาวต่างเดินทางกันมาร่วมพิธีกรรมมากมาย งานมหรสพสมโภชคึกคักสนุกสนานจัดเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน
จังหวัดนครพนม ร่วมกับ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ททท.สำนักงานนครพนม หน่วยงานภาครัฐและเอกชน กำหนดจัดงานบุญยิ่งใหญ่ “งานนมัสการพระธาตุพนม ” บริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เพื่อเป็นการดำรงพุทธศาสนา และสืบสานประเพณีท้องถิ่นอันดีงามของชาวนครพนมที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งจัดประจำทุกปีในวันขึ้น 8 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 รวม 9 วัน 9 คืน และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง ๗ เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และพืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกัน ในที่สุดพญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน ซึ่งมีมอด แมลงป่อง ตะขาบ สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิด ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การรบ จนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้
๑. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์
๒. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว
๓. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้